ขับเคลื่อนโดย Blogger.


MR.ADISON

MR.ADISON

ความปลอดภัย

อันตรายของไฟฟ้าต่อร่างกายมนุษย์
        ตามปกติแล้วไฟฟ้าจะไหลไปตามเส้นลวดที่เป็นตัวนำไฟฟ้าแล้วจะไหลติดต่อกันไปจนครบวงจร และถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปแตะหรือสัมผัสเข้ากับวงจรไฟฟ้าทำให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้ ้และร่างกายเราก็จะเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือบาดเจ็บถึงชีวิตได้ ้ ซึ่งกระแสไฟฟ้าเพียงแค่ 10 mA หรือแรงดันไฟฟ้า 25 V ก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิต ค่าความต้านทานของร่างกายมนุษย์จะมีค่าประมาณ 10,000 โอห์ม ถึง 50,000 โอห์ม





กระแสไฟฟ้าไหลเกิน(Over Current)
           กระแสไฟฟ้าไหลเกิน หมายถึง สภาวะของกระแสที่ไหลผ่านตัวนำจนเกินพิกัดที่กำหนดไว้    เกิดได้ 2 ลักษณะคือ
           1.โหลดเกิน(Over Load) หมายถึงกระแสไหลในวงจรปกติแต่นำอุปกรณ์ที่กินกำลังไฟสูงหลาย ๆ ชุดมาต่อ  ในจุดเดียวกัน ทำให้กระแสไหลรวมกันเกินกว่าที่จะทนรับภาระของโหลด

 
               2. การลัดวงจร(Short Circuit) หรือไฟฟ้าช๊อต เกิดจากฉนวนชำรุด ทำให้เกิดสายที่มีไฟ (Line) และสายดิน(Ground) สัมผัสถึงกัน มีผลทำให้เกิดความร้อน ฉนวนที่ห่อหุ้มลวดตัวนำจะลุกไหม้ในที่สุด

 

อันตรายของวงจรไฟฟ้ามีองค์ประกอบ 3 อย่าง

         1.กระแสไฟฟ้า คือ จำนวนกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย ถ้ากระแสไฟฟ้าต่ำอันตรายก็อันตรายน้อยแต่ถ้ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นก็เป็นอันตรายมากขึ้น จนถึงระดับหนึ่งอาจจะเสียชีวิตได้ 
         2.แรงเคลื่อนไฟฟ้า คือ จำนวนแรงเคลื่อนไฟฟ้า ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำอันตรายก็อันตรายน้อยแต่ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงขึ้นก็เป็นอันตรายมากขึ้น จนถึงระดับหนึ่งอาจจะเสียชีวิตได้ 
         3.ความต้านทานของร่างกายของผู้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน คือ ความต้านทานร่างกายของคนเราจะแตกต่างกันไป เช่นผิวหนังที่มีความชื้นมีความต้านทานต่ำกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย แต่ถ้าผิวหนังหยาบความต้านทานจะสูง กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ยาก

อันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

        1.การช็อก คือ จากการที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายทำให้เกิดอาการกระตุ้นบริเวณกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงโดยเฉพาะบริเวณเส้นประสาทจะขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสที่ร่างกายได้รับ 
        2.แผลไหม้ คือ การเกิดกระแสไฟฟ้าปริมาณมากๆ ไหลผ่านร่างกาย เมื่อร่างกายไปสัมผัสกับตัวนำไฟฟ้าความร้อนปริมาณมากๆที่เกิดการลัดวงจรทำให้เกิดแผลไหม้แก่ผู้ทำการ 
        3.การระเบิด คือ การเกิดประกายไฟขึ้นไปทำให้ก๊าซที่จุดติดไฟได้ง่ายเกิดจุดติดไฟขึ้นมา 
        4.การบาดเจ็บที่ดวงตา คือ การที่สายตากระทบถูกแสงอุลตร้าไวโอเล็ตหรือแสงเลเซอร์ ที่มีความเข้มข้นสูงดังนั้นการทำงานควรสวมแว่นตาที่กรองแสงได้เป็นพิเศษ 
        5.การบาดเจ็บของร่างกาย คือ การที่ได้รับคลื่นไมโครเวฟและจากอุปกรณ์กำเนิดสัญญาณความถี่วิทยุ สามารถทำอันตรายมนุษย์ได้โดยเฉพาะบริเวณที่มีปริมาณเลือดน้อย

ปริมาณกระแสไฟฟ้า
ผลกระทบที่มีต่อร่างกาย
1 mA หรือ น้อยกว่า
ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย
มากกว่า 5 mA
ทำให้เกิดการช็อก และเกิดความเจ็บปวด
มากกว่า 15 mA
กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเกิดการหดตัว และร่างกายจะเกิดอาการเกร็ง
มากกว่า 15 mA
กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเกิดการหดตัว และร่างกายจะเกิดอาการเกร็ง
มากกว่า 30 mA
การหายใจติดขัด และสามารถทำให้หมดสติได้
50 ถึง 200 mA
ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ และอาจจะเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที
มากกว่า 200 mA
เกิดการไหม้บริเวณผิวหนังที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูด และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที
ตั้งแต่ 1A ขึ้นไป
ผิวหนังบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดถูกทำลายอย่างถาวร และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที
ตารางแสดงผลกระทบที่มีต่อร่างกายมนุษย์ เมื่อถูกกระแสไฟฟ้าดูด


1.2 การปฏิบัติทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ปลอดภัย
         1.   ควรคำนึงถึงกฏแห่งความปลอดภัยขณะทำงานหรือซ่อมบำรุงเครื่องใช้และอุปกร์ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ทุกครั้ง และอย่าทำงานด้วยความประมาท

         2.   ก่อนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องถือว่าอุปกรณืไฟฟ้าเหล่านั้นมีไฟฟ้าจ่ายอยู่ ต้องตรวจสอบจนแน่ใจว่าไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้อุปกรณ์ไฟฟ้าแล้ว
         3.   จะปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าเรื่องใด ต้องมีความรู้ความข้าใจในเรื่องนั้นก่อนการปฏิบัติงาน หรือถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจควรสอบถามผู้รู้ และให้ผู้รู้เป็นผู้กระทำ
         4.    อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน หากมีส่วนชำรุดหรือไม่สมบูรณ์ไม่ควรนำมาใช้งาน
         5.    อย่าปฏิบัติงานเมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อย หรือรับประทานยาทำให้ง่วงนอน
         6.    อย่าปฏิบัติงานในขณะมือเปียก  หรือยืนอยู่บนพื้นที่เปียกน้ำ
         7.    ถ้าจำเป็นต้องปฏิบัติงานในที่มีคนพลุกพล่าน  หรือมีการปฏิบัติงานอื่นๆ ร่วมด้วยต้องแขวนป้ายหรือเขียนป้ายแสดงการงดใช้ไฟฟ้าไว้ให้มองเห็นชัดเจนทุกครั้งก่อนเริ่มการปฏิบัติงาน
         8.    ถ้าจำเป็นต้องปฏิบัติงานในที่ ๆ ไม่สามารถตัดไฟออกได้ ต้องกั้นบริเวณหรือป้องกันไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้ได้
         9.    การปฏิบัติงานถ้ามีการละงานไปชั่วคราว เช่น พักเที่ยง เมื่อกลับมาปฏิบัติงานต่อต้องตรวจสอบสวิตซ์ตัดตอน สะพานไฟ ตลอดจนเครื่องหมายต่างๆ ที่ทำไว้ต้องอยู่ในสภาพเดิม ก่อนปฏิบัติงานต่อไป
        10.   การปฏิบัติงานแต่ละครั้งควรมีผู้ร่วมปฏิบัติงานด้วยอย้างน้อย 2 คน
        11.   การปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง ควรใช้เครืองช่วยป้องกันไฟฟ้าให้มากขึ้นกว่าปกติ  เช่น  ใช้เสื่อยางฉนวนปูพื้น สวมถึงมือฉนวน และปลอกแขนฉนวน เป็นต้น ก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง
การรั่วไหลลงสู่ดินแสดงการรั่วไหลผ่านโครงอุปกรณ์
ไม่ควรซ่อมและแก้ไขอุปกรณ์ไฟฟ้าถ้า
ไม่มีความรู้
ตัดกระแสไฟฟ้าก่อนลงมือซ่อม
ถอดเต้าเสียบออกเมื่อเลิกใช้งานอย่าให้เด็กเล่นเครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
ควรจัดให้มีการตรวจสอบสายไฟฟ้าเปลี่ยนเต้ารับและเต้าเสียบที่ชำรุด
ใส่ฟิวส์ให้ถูกขนาดและเหมาะสมแสดงการถอดเต้าเสียบผิดวิธี
ใช้ผ้าหรือกระดาษพลางหลอด
ไฟอาจเกิดอัคคีภัยได้
ไม่ควรวางของหนักกดทับสายไฟฟ้า
สายไฟฟ้าขาดอย่าจับต้องให้แจ้งการไฟฟ้าไม่ควรเล่นว่าวในบริเวณที่มี       สายไฟฟ้า
ไม่ควรตั้งเสาโทรทัศน์หรือเสาอากาศวิทยุบริเวณที่มีสายไฟฟ้าแรงสูง

1.3  การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันตรายจากไฟฟ้าดูด
                 การช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้านับเป็นสิ่งจำเป็นแลัสำคัญอย่างยิ่งที่ตัองการกระทำอย่งถูกวิธี  ทำด้วยความรวดเร็ว  รอบคอบ และระมัดระวัง  เพื่อให้ผู้ประสบอันตรายมีโอกาสรอดพ้นจากอันตรายขั้นร้ายแรง  และผู้ให้ความช่วยเหลือมีความปลอดภัยไม่เกิดอันตรายตามไปด้วย  ต้องรู้จักวิธีที่ถูกต้องในการช่วยเหลือดังนี้
                 1.  อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่กำลังติดอยู่กับสายไฟฟ้ หรือตัวนำไฟฟ้าที่มีกระแสไหลผ่าน  เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ให้ความช่วยเหลือเกิดอันตรายไปอีกคน
                 2.  รับหาทางตัดทางเดินของไฟฟ้าก่อน  โดยถอดปลั๊ก  ตัดสวิตซ์ตัดวงจรอัตโนมัติ  หรือสวิตช์ประธาน  ถ้าทำไม่ได้ให้ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า  เช่น ผ้า เชือก สายยาง ไม้แห้ง หรือพลาสติกที่แห้งสนิท  เขี่ยสายไฟฟ้าให้หลุดออกจากตัวผู้ประสบอันตราย หรือลากตัวผู้ประสบอันตรายให้พ้นจากสิ่งที่มีไฟฟ้า แสดงดังรูปที่ 1.3
               3.  เมื่อไม่สามารถทำวิธีอื่นใดได้แล้ว ให้ใช้มีด ขวาน หรือของมีคมที่มีด้ามไม้หรือด้ามที่เป็นฉนวน ฟันสายไฟฟ้าให้ขาดหลุดออกจากผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุด และต้องแน่ใจว่าสามารถทำได้ด้วยความปลอดภัย
               4.  อย่าลงไปในน้ำ ในกรณีที่มีกระแสอยู่ในบริเวณที่มีน้ำขัง ให้หาทางเขี่ยสายไฟฟ้าออกไปให้พ้นน้ำ หรือตัดกระแสออกก่อนจะลงไปช่วยผู้ประสบอันตรายที่อยู่ในบริเวณนั้น
               5.  หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงให้พยายามหลีกเลี่ยง แล้วรีบแจ้งการไฟฟ้าที่รับผิดชอบโดยเร็วที่สุด
1.4  การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด

1. การปฐมพยาบาลด้วยการผายปอดด้วยวิธีปากต่อปาก

ขั้นที่1 วางผู้เคราะห์ร้ายให้อยู่ในแนวราบ แต่ถ้าอยู่บริเวณพื้นที่ลาดชันวางส่วนที่เป็นกระเพาะอาหารให้อยู่ต่ำกว่าบริเวณหน้าอกเล็กน้อย

 
ขั้นที่2 ตรวจบริเวณช่องปากตลอดจนลำคอว่าไม่มีสิ่งใดๆกีดขวางทางเดินหายใจ

 
ขั้นที่3 จับศรีษะของผู้เคราะห์ร้ายเอียงไปทางด้านหลังมากที่สุด โดยให้คางเงยขึ้นมาและจัดลำคอให้อยู่ในแนวตรงเพื่อให้อากาศใหลผ่านได้สะดวก
ขั้นที่4 ปิดจมูกของผู้เคราะห์ร้ายด้วยหัวแม่มือและนิ้วชี้อีกข้างหนึ่งส่วนมืออีกข้างช่วยเปิดปากให้กว้าง จากนั้นประกบปากให้แนบสนิทและเป่าลมเข้าไป

 
ขั้นที่5 หลังจากเป่าลมหายใจเข้าไปแล้วสังเกตการเคลื่อนตัวบริเวณหน้าอกและสุดลมหายใจเข้าไปลึก
เพื่อทำการเป่าลมหายใจอีกครั้ง
ขั้นที่6 ถ้าหน้าอกของผู้เคราะห์ร้ายไม่เคลื่อนไหวให้ตรวจดูลำคอและทำการผายปอดใหม่
2. การปฐมพยาบาลด้วยวิธีนวดหัวใจ
ขั้นที่1 นำผู้เคราะห์ร้ายวางราบไปกับพื้นโต๊ะ โดยศรีษะแหงนขึ้นลำคอยืดตรง
ขั้นที่2 ตรวจสอบสิ่งต่างๆที่ติดค้างอยู่ในช่องปาก ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กีดขวางทางเดินหายใจ
ขั้นที่3 คุกเข่าลงบริเวณด้านข้างลำตัวของผู้เคราะห์ร้าย จากนั้นวางสันมือทั้งสองให้ซ้อนทับกันบนหน้าอก เหยียดแขนตรงจากนั้นกดสันมือลงไปโดยกดทรวงอกผู้ป่วยยุบลงประมา 1 นิ้ว เป็นจังหวะๆ ประมาณ 60 ครั้งต่อนาที

 
ขั้นที่4 ขณะที่ส่งโรงพยาบาลให้นวดหัวใจต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งการเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติหรือเมื่อได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์แล้ว

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ดีมากเลยค่ะ

.....ไกลเพียงใดแล้วจะไปให้ถึงฝัน.....

.....ไกลเพียงใดแล้วจะไปให้ถึงฝัน.....